เปิดที่มา “ทำไมแต่งงานต้องมีสินสอด” ปัจจุบันยังจำเป็นอยู่ไหม!?

0
1703

ประเพณีการให้สินสอดกับการแต่งงานแบบไทยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

บ้างก็ว่าเพื่อเลี้ยงดูฝ่ายพ่อแม่เจ้าสาว บ้างก็ว่าเพื่อตอบแทนค่าน้ำนมของฝ่ายพ่อแม่เจ้าสาวและขอบคุณที่ยอมยกลูกสาวให้

แต่ในประเทศไทยนั้นมีธรรมเนียมเรียกค่าสินสอด เพราะว่ามักจะเป็นการแต่งงานด้วยการคลุมถุงชน จึงทำให้ฝ่ายหญิงต้องเรียกค่าสินสอดไว้ก่อน เพื่อเป็นหลักประกันว่าฝ่ายชายจะไม่หนีงานแต่ง อีกทั้งเมื่อก่อนฝ่ายหญิงยังต้องพึ่งพาผู้ชายเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องเรียกสินสอดไว้เพื่อความมั่นใจ

 

แต่ในปัจจุบันนั้น การเรียกสินสอดมักเรียกเพื่อแสดงฐานะและความมั่นคงของฝ่ายชาย และให้เหมาะสมกับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ของทางฝ่ายหญิง นี่เองจึงเป็นประเด็นที่บางคนมองว่า วัดคุณค่าของผู้หญิงด้วยเงิน

 

ถ้าพูดถึงประวัติศาสตร์ของการมอบสินสอดนับย้อนไปได้หลายพันปี อีกทั้งยังเป็นธรรมเนียมในเกือบทุกอารยธรรม ตั้งแต่อียิปต์โบราณ เมโสโปเตเมีย ฮิบรู แอซเท็ก อินคา ไปจนถึงกรีกโบราณ โดยสินสอดสำหรับงานแต่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

– สินสอดให้เจ้าสาว (Dower)
สินสอดงานแต่งที่มอบให้แก่ครอบครัวของฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการสมรสเรียกว่า สินสอดเจ้าสาว ก็คือสินสอดทองหมั้นที่คนไทยคุ้นเคยกันดี เป็นทรัพย์สินมีค่าที่มอบให้เพื่อตอบแทนการยินยอมสมรสของฝั่งเจ้าสาว

– และสินสอดให้เจ้าบ่าว (Dowry)
ต่างกันที่เป็นทรัพย์สินที่มอบให้กับฝ่ายชายหรือครอบครัวของฝ่ายชาย สาเหตุที่ต้องมี Dowry ก็เพราะบางประเทศครอบครัวฝ่ายหญิงจะเป็นผู้สู่ขอฝ่ายชาย หรืออย่างอินเดียที่มีการมอบสินสอดให้เจ้าบ่าวเพราะถือว่าเจ้าบ่าวจะเป็นผู้ดูแลเจ้าสาวต่อไปในอนาคต