วิกฤติหน้ากาก

0
1211

新年ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา คุณภาพอากาศในกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องและมลภาวะหมอกควันยังคงเกินระดับที่ปลอดภัย สถิติจากสำนักงานควบคุมมลพิษแสดงให้เห็นว่าค่าฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯอยู่ในช่วง 51 ถึง 81 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ ค่าฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรถือว่าเป็นระดับที่ยอมรับได้ ส่วนองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดมาตรฐานนี้ไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สาเหตุหลักๆที่ก่อให้เกิดมลพิษหมอกควันในกรุงเทพฯ คือรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซไอเสียจำนวนมาก ซึ่งรถยนต์ที่ใช้พลังงานดีเซลปล่อยมลพิษมากที่สุด การปล่อยมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม การเผาพืชเกษตร และมลพิษฝุ่นจากการก่อสร้าง

จากการวิจัยขององค์การอนามัยโลกระบุว่า การได้รับ PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กในระยะยาวอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพหลายประการ รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจและระบบทางเดินหายใจและทำให้เกิดมะเร็งได้ นายกรัฐมนตรีไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้โพสต์ในโซเชียลมีเดียว่าเขาจะใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อลดมลภาวะฝ่นละออง รวมถึงเตือนประชาชนให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกไปข้างนอก ทำให้ร้านขายยารวมถึงร้านค้าต่างๆในกรุงเทพฯต่างมีผู้คนต่อแถวซื้อหน้ากากอนามัยจำนวนมาก

ในขณะเดียวกัน การระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2019 จากอู่ฮั่น ประเทศจีน ทำให้เกิดการตื่นตระหนกในประเทศไทย ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ไทยมีผู้ป่วย 25 รายที่ได้รับการยืนยัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการติดเชื้อภายในประเทศ ทำให้ความต้องการหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นอย่างมากจนเกิดการขาดแคลนอย่างรุนแรง โดยร้านค้าต่างๆก็ไม่สามารถตอบได้ว่าสินค้าจะเข้ามาเมื่อใด ในโลกโซเชียลมีเดียเองก็มีการแชร์ข้อมูลชี้เป้าสถานที่ที่ยังพอหาซื้อหน้ากากได้ จากวิกฤตนี้ คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลไทยได้กำหนดให้หน้ากากอนามัยเป็นสินค้าควบคุม รวมถึงใช้มาตรการควบคุมการผลิต ส่งออก รวมถึงราคา เพื่อมิให้เกิดการกักตุนหน้ากากอนามัย โดยผู้กระทำความผิดอาจถูกดำเนินคดี มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท ล่าสุดมีการประกาศควบคุมการส่งออกหน้ากากอนามัยโดยห้ามนำขายไปยังต่างประเทศตั้งแต่ 500 ชิ้นขึ้นไป พร้อมขอความร่วมมือร้านค้าจำกัดการซื้อหน้ากากอนามัยไม่เกินคนละ 10 ชิ้น