เปิดประวัติ “วันคริสต์มาส” 25 ธันวาคม วันแห่งความอบอุ่น
คริสต์มาส คำนี้มาจากอะไร
ตามข้อมูลจากสารานุกรมคาทอลิก คำว่า Christmas มีต้นกำเนิดมาจากวลี “Cristes Maesse” ซึ่งถูกบันทึกไว้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1038 หมายถึง “มิสซาของพระคริสต์” หรือ “พิธีมิสซาของพระคริสต์” คำว่า mass ในภาษาอังกฤษ มาจากคำภาษาละติน missa ซึ่งหมายถึงการเฉลิมฉลองพิธีมหาสนิท (Eucharist) ซึ่งจัดขึ้นเพื่อระลึกถึงพระเยซูคริสต์ โดยคริสตชนจะกินขนมปังและดื่มเหล้าองุ่นในพิธีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม คำนี้ไม่ได้มีที่มาจากภาษาละตินเพียงอย่างเดียว เพราะคำว่า Christ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก Khristos ซึ่งแปลมาจากคำภาษาฮีบรู messiah ที่หมายถึง “ผู้ที่ได้รับการเจิมแต่งตั้ง”
ทำไมต้องวันที่ 25 ธันวาคม
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ครั้งแรกที่มีการเฉลิมฉลองคริสต์มาส คือเมื่อปี ค.ศ. 336 เรื่องราวที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองคริสต์มาสคือเหตุการณ์ที่พระแม่มารีย์ ผู้เป็นมารดาของพระเยซู ได้รับแจ้งว่าจะให้กำเนิดบุตรที่พิเศษจากพระเจ้า มีการกล่าวกันว่าพระแม่มารีย์ได้รับคำพยากรณ์นี้ในวันที่ 25 มีนาคม และเก้าเดือนต่อมา ในวันที่ 25 ธันวาคม พระเยซูจึงประสูติ ทฤษฎีนี้อาจเป็นที่มาของการกำหนดวันที่ 25 ธันวาคมให้เป็นวันประสูติของพระเยซู และจึงกลายเป็นวันที่มีการเฉลิมฉลองนั่นเอง
ความหวัง ความรัก ความอบอุ่น
หากนึกถึงเทศกาลนี้ผู้คนส่วนมากก็จะนึงถึงบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสุข ในหลากหลายวัฒนธรรม คริสต์มาสกลายเป็นเทศกาลที่สะท้อนถึงความรัก ผู้คนใช้โอกาสนี้ในการแสดงความห่วงใยต่อครอบครัว เพื่อน และคนรอบข้าง การแลกเปลี่ยนของขวัญไม่เพียงแค่สร้างรอยยิ้ม แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งปันและการให้อีกด้วย
อีกหนึ่งเสน่ห์ของคริสต์มาสคือการรวมตัวของครอบครัว ในช่วงเวลานี้ สมาชิกในครอบครัวมักกลับมาพบปะกัน รับประทานอาหาร และใช้เวลาร่วมกันท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่น ต้นคริสต์มาสที่ประดับด้วยแสงไฟ ซานตาคลอส และเพลงคริสต์มาสยังสร้างบรรยากาศแห่งความสุขและความรื่นเริง ทำให้คริสต์มาสเป็นช่วงเวลาที่หลายคนรอคอย
หวังว่าคริสต์มาสปีนี้ทุกคนจะมีความสุขและเต็มไปด้วยรอยยิ้มพร้อมกับคนที่รัก ไม่ว่าจะครอบครัว เพื่อนหรือแฟน
ทีมงาน Thaiwave ขอกล่าว MARRY CHRISTMAS AND HAPPY NEW YEAR ล่วงหน้านะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก prd.go.th,timesofindia.indiatimes
CR. Chanvarat Chantan