กินไม่หมด ค่อยอุ่นกิน! เลี่ยงได้เลี่ยง อันตรายมากกว่าที่คิด
ในยุคสมัยที่เศรษฐกิจค่อนข้างไม่ดี ผู้คนต่างต้องออกไปทำงาน ต้องรีบเร่งมากขึ้นในการใช้ชีวิต การซื้ออาหารมาอุ่นกิน หรือกินไม่หมดนำกลับมาโดยใช้ไมโครเวฟจนทำให้ในบางข้อมูลที่ส่งต่อกันในโซเซียลว่ากินอาหารที่อุ่นซ้ำ หรือค้างคืนทำให้ก่อนสารมะเร็งได้ ซึ่งทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า การรับประทานอาหารค้างคืน และนำกลับมาอุ่นซ้ำ “ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง” เเต่ทำให้เกิดสุขภาพปัญหาอื่นๆที่ไม่คาดคิดตามมาได้
กรมอนามัยได้ออกมาบอกว่า การกินอาหารที่อุ่นซ้ำหรือค้างคืน ไม่สามารถก่อมะเร็งได้ เเต่เพียงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นได้หากการนำมาอุ่นหรือกินซ้ำที่ไม่ถูกวิธีหรืออุ่นอาหารที่ความร้อนไม่ถึง เช่น ซื้ออาหารแช่แข็งมาเก็บในตู้เย็นที่มีความเย็นไม่เพียงพอ ทำให้มีเชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตจนสร้างสารพิษขึ้นมา หากทานอาหารเหล่านั้นเข้าไป ก็จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้ อาหารที่ทำทิ้งไว้นาน และถูกนำมาอุ่นซ้ำ อาจทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง รวมถึงมีรสชาติเปลี่ยนไป ซึ่งอาหารที่มีการอุ่นบ่อย ๆ หรือต้มตุ๋นเป็นระยะเวลานานเกิน 4 ชั่วโมงขึ้นไปจะมีโอกาสทำให้คุณค่าด้านโภชนาการลดลง จึงควรปรุงอาหารแต่พอกินในแต่ะละมื้อ สำหรับอาหารประเภทผักสด ผัดผัก ผักลวก นึ่ง ต้ม ไม่ควรเก็บไว้กินในมื้อต่อไป เพราะจะทำให้คุณค่าทางโภชนาการของผักลดลง หากมีการเก็บรักษาไม่ดีพอ อุณหภูมิในการเก็บไม่เหมาะสม จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนระหว่างเก็บก็จะทำให้ท้องเสียได้
สำหรับข้อแนะนำของ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเก็บอาหารค้างคืนเข้าตู้เย็น ก่อนนำอาหารเข้าตู้เย็น ควรอุ่นที่อุณหภูมิมากกว่า 74°C เพื่อทำลายแบคทีเรีย ที่อาจปนเปื้อนมากับอาหารได้ และเมื่ออาหารมีอุณหภูมิลดลง จนสามารถเก็บเข้าตู้เย็นได้ ให้แบ่งอาหารใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด ขนาดเล็กถึงกลางที่เพียงพอสำหรับ การแบ่งรับประทานใน 1 ครั้ง เพื่อให้ความเย็นทั่วถึงอาหารในภาชนะที่เก็บ เราควรจะติดฉลากวันที่เตรียมอาหาร และวันที่ทิ้งอาหาร โดยพิจารณาจากชนิดอาหารที่ต้องการเก็บ ระยะเวลาในการนำอาหารเข้าตู้เย็น ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงหลังจากเตรียมอาหาร และเมื่อต้องการอาหารค้างคืน มาทำการอุ่นซ้ำ ควรอุ่นที่อุณหภูมิสูงกว่า 74°C เพื่อทำลายแบคทีเรียที่ก่อโรคที่อาจจะ เจริญเติบโตในระหว่างการเก็บรักษาได้
ดังนั้น พฤติกรรมการกินอาหารค้างคืนเพราะความเสียดาย ก็เป็นพฤติกรรมที่ยังต้องพึงระวัง เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษได้ กับร่างกาย ดังนั้นควรรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ควรทำหรือซื้ออาหารในปริมาณที่พอดี ที่สามารถกินหมดได้ใน 1 ครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบาง ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูก หรือเปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่ได้รับยากดภูมิ ควรจะรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ขอบคุณรูปภาพ : Freepik , https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-743484
ขอบคุณข้อมูลจาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/080665/ , https://mgronline.com/uptodate/detail/9670000001723 ,