“สิ่งสำคัญ”ที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยวญี่ปุ่น

0
21

จากข่าวนักแสดงบาร์บี้ ซู (Barbie Hsu) หรือ สวีซีหยวน นักแสดงชื่อดังชาวไต้หวัน วัย 48 ปี ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหันในประเทศญี่ปุ่น สาเหตุการเสียชีวิตมาจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และภาวะปอดอักเสบเฉียบพลัน เหตุการณ์เกิดขึ้นระหว่างที่เธอและครอบครัวเดินทางไปท่องเที่ยวในญี่ปุ่นช่วงเทศกาลตรุษจีน จึงทำให้คนหันมาสนใจเรื่องการรักษาในญี่ปุ่นมากขึ้น

บาร์บี้ ซู (Barbie Hsu) หรือ สวีซีหยวน

หากใครกำลังที่จะเดินทางไปญี่ปุ่นหรือเคยไปญี่ปุ่น อาจเคยได้ยินคำเตือนว่า “ไปญี่ปุ่นแล้วห้ามป่วย”  ประโยคนี้บางคนฟังแล้วสงสัยว่าทำไม ถึงห้ามป่วยหรือถ้าใครมีโรคประจำตัวอะไรควรพกยาไปด้วยเสมอ  ในนั้นความเป็นจริง การเจ็บป่วยขณะเดินทางในญี่ปุ่นเป็นเรื่องยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่คิด Thaiwave จะพาคุณไปสำรวจเหตุผลว่าทำไมการป่วยที่ญี่ปุ่นถึงเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง และคุณจะเตรียมตัวรับมือได้อย่างไรหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น

อย่างแรกที่ควรทราบเลยคือ ระบบการแพทย์ของญี่ปุ่นมีขั้นตอนที่ซับซ้อน

ในบางกรณี การเข้าถึงการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นอาจไม่ง่ายอย่างที่คิด โดยเฉพาะถ้าเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อาจต้องผ่านหลายขั้นตอนและใช้ระยะเวลานานเพราะหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า โรงพยาบาลญี่ปุ่น หากไม่สบายถึงขั้นฉุกเฉินจริงๆ ตามการประเมิณของพยาบาลหรือแพทย์ การพบแพทย์จะต้องพบในเวลาทำการเท่านั้น จึงจะใช้ระยะเวลานาน กว่าจะได้รักษา และรับยา

อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องทราบนั่นก็คือ ร้านขายยาของญี่ปุ่นมีกฎระเบียบเข้มงวด

หากคุณคิดว่าแค่ป่วยเล็กๆ น้อยๆ แล้วจะไปซื้อยามากินเองได้ง่ายๆ เหมือนที่ประเทศไทย อาจต้องคิดใหม่ เพราะร้านขายยาที่ญี่ปุ่นมีข้อจำกัดเรื่องการจำหน่ายยา  โดยเฉพาะยาแก้ปวดหรือยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของสารบางชนิด เช่น ยาที่มี Pseudoephedrine อาจถูกควบคุม และไม่สามารถหาซื้อได้ง่าย

นอกจากนี้ ร้านขายยาในญี่ปุ่นยังมีระดับของเภสัชกรที่แตกต่างกัน ร้านที่มีเภสัชกรประจำจะสามารถขายยาที่แรงขึ้นได้ ในขณะที่ร้านสะดวกซื้อทั่วไปมักขายแค่ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล หรือยาแก้หวัดที่ออกฤทธิ์อ่อนกว่า

 

วิธีป้องกันและเตรียมตัวก่อนเดินทาง

เนื่องจากการเจ็บป่วยในญี่ปุ่นอาจเป็นเรื่องยุ่งยาก สิ่งที่นักเดินทางควรทำก่อนออกเดินทางคือ

 ซื้อประกันการเดินทางที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล

เลือกประกันที่มีความคุ้มครองในกรณีฉุกเฉิน และสามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลในญี่ปุ่นได้

 พกยาสามัญประจำตัวไปเอง แต่อย่าลืมตรวจสอบยา เนื่องจากยาบางประเภทประเทศญี่ปุ่นห้ามนำเข้า

เตรียมยาแก้ไข้ แก้หวัด ยาแก้แพ้ หรือยาอื่นๆ ที่ใช้เป็นประจำ และควรพกฉลากยาภาษาอังกฤษติดไปด้วย

 หาข้อมูลเกี่ยวกับโรงพยาบาลที่รองรับนักท่องเที่ยว

ตรวจสอบว่ามีโรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้ที่พักที่สามารถให้บริการเป็นภาษาอังกฤษได้

ดูแลสุขภาพระหว่างเดินทาง

ดื่มน้ำให้เพียงพอ พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัดในช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก thaipbs,mushroomtravel

CR. Chanvarat Chantan