วิกฤตฝุ่น PM2.5 คนไทยใส่แมสด่วน !

0
8

ในสถานการณ์ช่วงนี้ภาวะฝุ่น PM2.5 ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมากเนื่องจากค่าที่สูงขึ้นของ ฝุ่น PM2.5 นั้นเพิ่มขึ้นทุกวันและยังคงน่าเป็นห่วงจนถึงตอนนี้ ทำให้รัฐบาลมีการสั่งปิดโรงเรียนและ work from home สำหรับบางบริษัทและบางโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงความรุนแรงแล้ว โดยตอนนี้จำนวนโรงเรียนที่กรุงเทพมหานครสั่งปิดในสังกัดแล้ว 352 แห่ง จากทั้งหมด 437 แห่ง ที่มีค่าเฉลี่ยฝุ่นระดับสีแดง 

รูปจาก: https://ch9airport.com/th/รู้จักระดับสีพื้นที่-กั/

โดยอันดับค่าฝุ่น PM2.5 ที่น่าเป็นห่วงในกรุงเทพมหานครนั้นมีดังนี้ ( ล่าสุด 24 มกราคม 2568 )

  1. เขตหนองแขม 108 มคก./ลบ.ม.
  2. เขตคันนายาว 107.7 มคก./ลบ.ม.
  3. เขตมีนบุรี 105 มคก./ลบ.ม.
  4. เขตทวีวัฒนา 103.8 มคก./ลบ.ม.
  5. เขตหลักสี่ 102.6 มคก./ลบ.ม.
  6. เขตคลองสามวา 101.5 มคก./ลบ.ม.
  7. เขตบางนา 101.2 มคก./ลบ.ม.
  8. เขตหนองจอก 101 มคก./ลบ.ม.
  9. เขตตลิ่งชัน 99.9 มคก./ลบ.ม.
  10. เขตบึงกุ่ม 99.5 มคก./ลบ.ม.
  11. เขตลาดพร้าว 98.8 มคก./ลบ.ม.
  12. เขตภาษีเจริญ 95.2 มคก./ลบ.ม.

รูปจาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/92677

จากสถานการณ์ตอนนี้รัฐบาลเผยมาตราการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 แล้วโดยมีการแจ้งกับทางภาคการเกษตรเชิงรุกโดยห้ามมีการเผ่าพื้นที่เกษตรตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม จนถึง 31 พฤษภาคม 2568 หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิด ขาดคุณสมบัติและถูกตัดสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรทุกโครงการนับตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2568 จนถึง 31 พฤษภาคม 2570

ทำไมประเทศไทยถึงฝุ่นเยอะ ?

สาเหตุของการเกิดฝุ่น PM2.5 มี ดังนี้ 

  1. การเผาไหม้: การเผาพืชผลทางการเกษตร เช่น การเผาหญ้า หรือการเผาไม้ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ
  2. การคมนาคม: การใช้ยานพาหนะจำนวนมาก ซึ่งปล่อยควันจากท่อไอเสีย
  3. การสร้างโรงงานและการก่อสร้าง: การระเบิดหรือการเคลื่อนย้ายดินทรายทำให้เกิดฝุ่นขึ้น
  4. สภาพอากาศ: ความชื้นต่ำและลมที่เบาบางในบางช่วงทำให้ฝุ่นสะสมในอากาศมากขึ้น

รูปจาก https://www.lerdthaisupply.co.th/news/view.php?main_id=6

ผลกระทบของฝุ่น PM2.5 สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากฝุ่นมีขนาดเล็กจึงสามารถเข้าสู่ปอดได้ โดยผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 มีดังนี้

ผลกระทบระยะสั้น

  1. ระบบทางเดินหายใจ:
    • อาการไอ: การหายใจเข้าไปในฝุ่นทำให้คอและทางเดินหายใจระคายเคือง ส่งผลให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก หรือหายใจไม่สะดวก
    • หายใจติดขัด: คนที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด หรือโรคปอดเรื้อรัง อาจจะมีอาการหายใจติดขัดหรือหายใจไม่สะดวกมากขึ้น
    • เจ็บคอและมีเสมหะ: การสูดดมฝุ่น PM2.5 อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในคอ ทำให้รู้สึกเจ็บคอ หรือมีเสมหะ
  2. อาการตาแสบตา: ฝุ่นละเอียดอาจเข้าสู่ดวงตาทำให้เกิดอาการตาแสบ น้ำตาไหล และทำให้ตาแดง
  3. การลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด: เมื่อสูดดมฝุ่นเข้าไปในปอด จะทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์มีประสิทธิภาพน้อยลง ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย

ผลกระทบระยะยาว

  1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง: คนที่ได้รับฝุ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่องอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และ โรคหอบหืด ที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น
  2. โรคหัวใจ: การสัมผัสกับฝุ่นPM2.5 ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคหัวใจ โดยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและเกิดการอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ
  3. มะเร็งปอด: การสัมผัสกับฝุ่นในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด เนื่องจากฝุ่นละเอียดนี้สามารถสะสมในปอดและทำให้เซลล์ในปอดเกิดความเสียหาย
  4. ผลกระทบต่อระบบประสาท: บางงานวิจัยพบว่าฝุ่น PM2.5 อาจมีผลกระทบต่อสมอง ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อม (เช่น โรคอัลไซเมอร์) หรือปัญหาทางจิตใจต่างๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า
  5. ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็ก: เด็กที่สัมผัสกับฝุ่น PM2.5 ในระยะยาวอาจมีความเสี่ยงในการพัฒนาโรคระบบทางเดินหายใจ และอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของปอด

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

  • คุณภาพอากาศแย่ลง: PM2.5 ส่งผลให้คุณภาพอากาศแย่ลง ทำให้ทัศนวิสัยลดลงและทำให้เกิดการปนเปื้อนในอากาศ
  • การตกตะกอนของฝุ่น: ฝุ่น PM2.5 อาจทำให้เกิดการสะสมในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร

รูปจาก: https://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articles/health/how-to-use-mask

วิธีป้องกันและลดผลกระทบ:

  • ใส่หน้ากาก N95: หน้ากากชนิดนี้ช่วยกรองฝุ่น PM2.5 ได้ดี
  • หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน: โดยเฉพาะในช่วงที่มีค่าฝุ่นสูงหรือช่วงที่มีการเผาไหม้
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง: รักษาให้ร่างกายแข็งแรงโดยการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ติดตามค่าฝุ่น: ใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่รายงานคุณภาพอากาศในพื้นที่เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านเมื่อค่าฝุ่นสูง

หากมีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรืออาการป่วยจากฝุ่นควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการดูแลรักษาให้เร็วที่สุด

Cr. Saminee Laothanu

ขอบคุณข้อมูลจาก: Thaipbs, Thaigov