การรถไฟแห่งประเทศไทย เคาะแล้ว เตรียมสร้างรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เฟส 2

0
47

รถไฟความเร็วสูง ไทย-ลาว-จีน เป็นการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบการขนส่งระบบราง ให้สามารถขนส่งสินค้าและผู้คนได้อย่างรวดเร็ว

เส้นทางจะวิ่งจาก กรุงเทพ ที่ สถานีกลางบางซื่อ ไปที่ประเทศลาว และเข้าสู่ประเทศจีน โดยเส้นทางในไทยจะมี 11 สถานี ผ่าน 8 จังหวัด ระยะทางรวมทั้งหมด 608 กม.

โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ

  1. เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและอาเซียน
  2. เพื่อเพิ่มทางเลือกการเดินทางสู่ภาคอีสาน และเชื่อมต่อประเทศลาว และจีนในอนคต
  3. เพื่อช่วยเสริมสร้างการท่องเที่ยวในประเทศระหว่างประเทศจีน ลาว และประเทศไทย
  4. เพื่อส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ พัฒนาการท่องเที่ยว และสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้เติบโตยิ่งขึ้น
  5. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในการเดินทางของประชาชน ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด แลอดภัยยิ่งขึ้น

 

ในประเทศไทย รถไฟความเร็วสูงสาย ไทย-จีน จะวิ่งจาก “สถานีกลางบางซื่อ” ไป “หนองคาย” โดยจะถูกแบ่งเป็น 2 ช่วง ตามการก่อสร้าง

ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา

เป็นช่วงการก่อสร้างในระยะที่ 1 แบ่งเป็น 6 สถานี เชื่อมจาก กรุงเทพ ไป นครราชศรีมา โดยในปัจจุบันมีการเริ่มการก่อสร้างไปแล้ว ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 179,400 ลบ. ระยะทางรวม 250 กม. มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับ 181.9 กม. ระดับพื้น 64 กม. และอุโมงค์ 6.4 กม. วิ่งผ่าน บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ปากช่อง และนครราชสีมา ที่เป็นสถานีปลายทางในระยะที่ 1 คาดว่าจะสามารถเปิดให้ได้ใช้บริการได้ในปี 2569

ช่วงที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย

เป็นช่วงการก่อสร้างในระยะที่ 2 แบ่งเป็น 5 สถานี ต่อจาก นครราชสีมา ไปยัง หนองคาย โดยมีกำหนดในการเริ่มการก่อสร้างในช่วงปี 2566 และคาดว่าแล้วเสร็จในช่วงปี 2572 ใช้เงินลงทุนกว่า 226,300 ลบ. ระยะทาง 356 กม.

เมื่อรถไฟความเร็วสูงสร้างเสร็จ จะช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางได้ โดย จากกรุงเทพไปนครราชสีมาจะใช้เวลาเพียง 1.30 ชม. และใช้เวลา 3.15 ชม. จากกรุงเทพไปหนองคาย

 

เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟท มีมติอนุมัติโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระบบรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชศรีมา – หนองคาย ระยะทาง 357.12 กม. วงเงินรวม 341,251 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 235,129 ล้านบาท ,ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน 10,310 ล้านบาท ,ค่าลงทุนระบบราง-ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล 80,165 ล้านบาท ,ค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการ ควบคุมงานและรับรองระบบ 10,060 ล้านบาท ปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดของโครงการแล้วเสร็จ

โครงการไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 ได้มีการปรับแบบการก่อสร้างงานโยธา แบ่งเป็น ทางวิ่งยกระดับ ระยะทาง 202.48 กม. ทางวิ่งระดับดิน ระยะทาง 154.64 กม. เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมี 5 สถานีใหญ่ ประกอบด้วย 1.สถานีบัวใหญ่ 2.สถานีบ้านไผ่ 3.สถานีขอนแก่น 4.สถานีอุดรธานี 5.สถานีหนองคาย